วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

                        สื่อการสอน

สื่อการเรียนการสอน  นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากประการหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอนนอกเหนือจากตัวผู้สอน  ผู้เรียน  และเทคนิควิธีการต่างๆ  บทบาทของสื่อการเรียนการสอนก็คือ  เป็นตัวกลางหรือพาหนะ  หรือเครื่องมือ  หรือช่องทางที่ใช้นำเรื่องราว  ข้อมูลความรู้หรือสิ่งบอกกล่าว ( Information )  ของผู้ส่งสารหรือผู้สอนไปสู่ผู้รับหรือผู้เรียน  เพื่อทำให้การเรียนรู้หรือการเรียนการสอนบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้ได้อย่างดี  สื่อการเรียนการสอนยังมีการพัฒนามาเรื่อยๆ  มีหลายอย่างหลายอย่างหลายรูปแบบ  ครูผู้สอนเองก็สามารถเลือกใช้สื่อการสอนของตัวเองเพื่อให้เหมาะกับการเรียนการสอนในแต่ละวิชาต่างๆกันไป  

สื่อการสอนคืออะไร


สื่อการสอน (Instruction Media)
 หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ถ่ายทอดหรือนำความรู้ในลักษณะต่างๆ  จากผู้ส่งไปยังผู้รับให้เข้าใจความหมายได้ตรงกัน  



ตัวอย่าง สื่อการสอน

คุณสมบัติของสื่อการสอน 


สื่อการสอนมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ คือ

                1. สามารถจัดยึดประสบการณ์กิจกรรมและการกระทำต่าง ๆ ไว้ได้อย่างคงทนถาวร ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบัน ทั้งในลักษณะของรูปภาพ เสียง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ
                2. สามารถจัดแจงจัดการและปรุงแต่งประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ใช้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเพราะสื่อการสอนบางชนิด สามารถใช้เทคนิคพิเศษเพื่อเอาชนะข้อจำกัดในด้านขนาด ระยะทาง เวลา และความเป็นนามธรรมของประสบการณ์ตามธรรมชาติได้ 
                3. สามารถแจกจ่ายและขยายของข่าวสารออกเป็นหลาย ๆ ฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมาก และสามารถใช้ซ้ำ ๆ ได้หลาย ๆ ครั้ง ทำให้สามารถแก้ปัญหาในด้านการเรียนการสอนต่าง ๆ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนได้เป็นอย่างดี

คุณค่าของสื่อการสอน

                
        1. เป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน
        2. ทำให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจ
        3. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวาง 
        4. ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน
        5. แสดงความหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ 
        6. ให้ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้ 
        7. แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่าย
        8. อธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น 
        9. สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ เกี่ยวกับเวลา ระยะทางและขนาดได้ เช่น
                9.1 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้นได้ 
                9.2 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลงได้ 
                9.3 ย่อสิ่งที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลงได้ 
                9.4 ขยายสิ่งที่เล็กเกินไปให้ใหญ่ขึ้นได้ 
                9.5 นำสิ่งที่อยู่ไกลเกินไปมาศึกษาได้ 
                9.6 นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ดูได้ 





ประเภทของสื่อการสอน


    การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ
  

     สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                  1. วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น
                       - แผนภูมิ (Charts)
                       - แผนภาพ (Diagrams)
                       - ภาพถ่าย (Poster)
                       - โปสเตอร์ (Drawing)
                       - ภาพเขียน (Drawing)
                       - ภาพโปร่งใส (Transparencies)
                       - ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
                       - แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
                       - เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
                 2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่
                       - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
                       - เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors)
                       - เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
                       - เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
                       - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
                       - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
                 3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
                       - บทบาทสมมุติ (Role Playing)
                       - สถานการณ์จำลอง (Simulation)
                       - การสาธิต (Demonstration)
                       - การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
                       - การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                       - กระบะทราย (Sand Trays)

       การจำแนกสื่อการสอนตามแบบ (Form)
            ชอร์ส (Shorse. 1960 : 11) ได้จำแนกสื่อการสอนตามแบบเป็นหมวดหมู่ดังนี้
                 1. สิ่งพิมพ์ (Printed Materials) 
                       - หนังสือแบบเรียน (Text Books)
                       - หนังสืออุเทศก์ (Reference Books)
                       - หนังสืออ่านประกอบ (Reading Books)
                       - นิตยสารหรือวารสาร (Serials)
                 2. วัสดุกราฟิก (Graphic Materials)
                       - แผนภูมิ (Chats)
                       - แผนสถิติ (Graph)
                       - แผนภาพ (Diagrams)
                       - โปสเตอร์ (Poster)
                       - การ์ตูน (Cartoons)
                 3. วัสดุและเครื่องฉาย (Projector materials and Equipment)
                       - เครื่องฉายภาพนิ่ง (Still Picture Projector)
                       - เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture Projector)
                       - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
                       - ฟิล์มสไลด์ (Slides)
                       - ฟิล์มภาพยนตร์ (Films)
                       - แผ่นโปร่งใส (Transparancies)
                 4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) 
                       - เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Disc Recording)
                       - เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder)
                       - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receiver)
                       - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)

         การจำแนกสื่อการสอนตามประสบการณ์
              เอดการ์ เดล (Edgar Dale) เชื่อว่าประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมจะทำให้เกิดการเรียนรู้แตกต่างกับประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม ดังนั้นจึงจำแนกสื่อการสอนโดยยึดประสบการณ์เป็นหลักเรียงตามลำดับจากประสบการณ์ที่ง่ายไปยาก 10 ขั้น เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)
                 
ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรง (Direct Experiences) มีความหมายเป็นรูปธรรมมากที่สุดทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เช่น เล่นกีฬา ทำอาหาร ปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
                 ขั้นที่ 2 ประสบการณ์รอง (Verbal Symbols) เป็นกรณีที่ประสบการณ์หรือของจริงมีข้อจำกัด จำเป็นต้องจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาศึกษาแทน เช่น หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง การแสดงเหตุการณ์จำลองทางดาราศาสตร์
                 ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramaticed Experiences) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์ตรงหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในอดีตหรืออาจเป็นความคิด ความฝัน สามารถเรียนด้วยประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์จำลองได้  เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ เป็นต้น
                 ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) เป็นการอธิบายข้อเท็จจริงลำดับความคิดหรือกระบวนการเหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการความเข้าใจ ความชำนาญหรือทักษะ เช่น การสาธิตการผายปอดการสาธิตการเล่นของครูพละ เป็นต้น
                 ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips) เป็นการพาผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ประสบการณ์นี้มีความเป็นนามธรรมมากกว่าการสาธิต เพราะผู้เรียนแทบไม่ได้มีส่วนในกิจกรรมที่ได้พบเห็นนั้นเลย
                 ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibits) เป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้รับด้วยการดูเป็นส่วนใหญ่ อาจจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ  เช่น ของจริง หุ่นจำลอง วัสดุสาธิต แผนภูมิ ภาพยนตร์ เป็นต้น
                 ขั้นที่ 7 โทรทัศน์และภาพยนตร์ (Television and Motion Picture) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากกว่าการจัดนิทรรศการ เพราะผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยการดูภาพและฟังเสียงเท่านั้น
                 ขั้นที่ 8 ภาพนิ่ง วิทยุและการบันทึกเสียง (Still Picture) เป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ทางใดทางหนึ่งระหว่างการฟังและการพูด ซึ่งนับเป็นนามธรรมมากขึ้น
                 ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols) เป็นประสบการร์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด บรรยาย การปราศรัยคำโฆษณา ฯลฯ ดังนั้นผู้เรียนควรมีพื้นฐานเช่นเดียวกับทัศนสัญลักษณ์นั้น ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างดี
                 ขั้นที่ 10 วัจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) ได้แก่ คำพูด คำอธิบาย หนังสือ เอกสาร แผ่นปลิว แผ่นพับที่ใช้ตัวอักษร ตัวเลข แทนความหมายของสิ่งต่าง ๆ นับเป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด





 

ข้อดีและข้อจำกัดของสื่อการสอน 

       1. สื่อที่ไม่ต้องใช้เครื่องประกอบ
              1.1 หนังสือพิมพ์ สมุดคู่มือ เอกสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
                  ข้อดี
                        1. วิธีเรียนที่ดีที่สุดสำหรับบางคน ได้แก่ การอ่าน
                        2. สามารถอ่านได้ตามสมรรถภาพของแต่ละบุคคล
                        3. เหมาะสมสำหรับการอ้างอิงหรือทบทวน
                        4. เหมาะสำหรับการผลิตเพื่อแจกเป็นจำนวนมาก
                   ข้อจำกัด
                        1. ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง
                        2. บางครั้งข้อมูลล้าสมัยง่าย
                        3. สิ่งพิมพ์ที่จำเป็นต้องอาศัยการผลิตต้นแบบหรือการผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งหาได้ยาก
               1.2 ตัวอย่างของจริง
                   ข้อดี
                        1. แสดงสภาพตามความเป็นจริง
                        2. อยู่ในลักษณะสามมิติ
                        3. สัมผัสได้ด้วยสัมผัสทั้ง 4
                    ข้อจำกัด
                        1. การจัดหาอาจลำบาก
                        2. บางครั้งขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำมาแสดงได้
                        3. บางครั้งราคาสูงเกินไป
                        4. ปกติเหมาะสำหรับการแสดงต่อกลุ่มย่อย
                        5. บางครั้งเสียหายง่าย
                        6. เก็บรักษาลำบาก
               1.3 หุ่นจำลอง / เท่า / ขยาย / ของจริง
                    ข้อดี
                         1. อยู่ในลักษณะสามมิติ
                         2. สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียด
                         3. เหมาะสำหรับการแสดงที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า (เช่น ส่วนกลางหู)
                         4. สามารถใช้แสดงหน้าที่
                         5. ช่วยในการเรียนรู้และการปฏิบัติทักษะชนิดต่าง ๆ
                         6. หุ่นบางอย่างสบายสามารถผลิตได้ด้วยวัสดุในท้องถิ่นที่หาง่าย
                    ข้อจำกัด
                         1. ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิต
                         2. ส่วนมากราคาแพง
                         3. ปกติเหมาะสำหรับการแสดงต่อกลุ่มย่อย
                         4. ชำรุดเสียหายง่าย
                         5. ไม่เหมือนของจริงทุกประการบางครั้งทำให้เกิดความเข้าใจผิด
                1.4 กราฟิก / แผนภูมิ / แผนภาพ / แผนผัง / ตาราง
                    ข้อดี
                        1. ช่วยในการชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหา
                        2. ช่วยแสดงลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
                        3. ภาพถ่ายมีลักษณะใกล้ความเป็นจริง ซึ่งดีกว่าภาพเขียน
                    ข้อจำกัด
                        1. เหมาะสำหรับกลุ่มเล็ก ๆ
                        2. เพื่อให้งานกราฟิกได้ผลจำเป็นต้องใช้ช่างเทคนิคที่ค่อนข้างมีความชำนาญในการ
                            ผลิต
                        3. การใช้ภาพบางประเภท เช่น ภาพตัดส่วน (Sectional drawings) หรือการ์ตูน อาจไม่ช่วย
                           ให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความเข้าใจดีขึ้นแต่กลับทำให้งง เพราะไม่สามารถสัมผัสของจริง
                           ได้
               1.5 กระดานชอล์ค
                   ข้อดี
                        1. ต้นทุนราคาต่ำ
                        2. สามารถใช้เขียนงานกราฟิกได้หลายชนิด
                        3. ช่วยในการสร้างความเข้าใจตามลำดับเรื่องราวเนื้อหาสามารถนำไปใช้ได้อีก
                   ข้อจำกัด
                        1. ผู้เขียนต้องหันหลังให้กลุ่มเป้าหมาย
                        2. กลุ่มเป้าหมายจำนวนเพียง 50 คน
                        3. ภาพหัวข้อหรือประเด็นคำบรรยายต้องถูกลบ ไม่สามารถนำไปใช้ได้อีก
                        4. ผู้เขียนต้องมีความสามารถในการเขียนกระดานพอสมควรทั้งในการเขียนตัวหนังสือ
               1.6 แผ่นป้ายสำลี / แผ่นป้ายแม่เหล็ก
                   ข้อดี
                        1. สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
                        2. วัสดุในการผลิตหาได้ง่าย
                        3. เหมาะสำหรับแสดงความเกี่ยวพันของลำดับเนื้อหา เป็นขั้นตอน
                        4. ช่วยดึงดูดความสนใจ
                        5. สามารถให้กลุ่มเป้าหมายร่วมใช้เพื่อสร้างความสนใจและทดสอบความเข้าใจ
                  ข้อจำกัด
                        - เหมาะสำหรับกลุ่มย่อย

         2. สิ่งที่ต้องใช้เครื่องฉายประกอบ (Projectable Media)
               2.1 ชนิดที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือภาพนิ่ง (Still Picture)
                    2.1.1 เครื่องฉายทึบแสง (Opaque Projector) 
                      ข้อดี
                        1. สามารถขยายภาพถ่ายหรือภาพเขียนให้มีขนาดใหญ่ ซึ่งแม้กลุ่มจะใหญ่ก็เห็นชัดเจน
                            ทั่วถึงกัน
                        2. ช่วยลดภาวะการผลิตสไลด์และแผ่นภาพโปร่งแสง (Overhead Transparencies)
                        3. สามารถขยายภาพบนแผ่นกระดาษ เพื่อจะได้วาดภาพขยายได้ถูกต้อง
                        4. ช่วยในการขยายวัตถุที่มีขนาดเล็กให้กลุ่มใหญ่ ๆ เห็นได้ทั่วถึง
                      ข้อจำกัด
                        1. เมื่อจะใช้เครื่องจะต้องมีห้องที่มืดสนิทจึงจะเห็นภาพขยาย
                        2. เครื่องมีขนาดใหญ่มาก ขนย้ายลำบาก
                        3. ต้องใช้ไฟฟ้า
                   
            2.2 ชนิดที่มีการเคลื่อนไหว (Moving Picture)
                   2.2.1 ฟิล์ม / ภาพยนตร์ 
                    ข้อดี
                        1. ให้ภาพที่มีการเคลื่อนไหวและให้เสียงประกอบ ซึ่งทั้งสองอย่างมีลักษณะใกล้ความจริงมากที่สุด
                        2. เหมาะสำหรับกลุ่มทุกขนาด คือ สามารถใช้ได้ทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
                        3. ใช้เนื้อที่และเวลาน้อยในการเสนอ
                        4. เหมาะสำหรับใช้จูงใจสร้างทัศนคติและแนะปัญหาหรือแสดงทักษะ
                        5. ฟิล์ม 8 มม. เหมาะสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                        6. เหมาะสำหรับให้ความรู้ แต่ผู้ใช้จะต้องอธิบายข้อความบางอย่างเกี่ยวกับภาพยนตร์
                           โดยละเอียดก่อนทำการฉายหรือเมื่อฉายจบแล้วควรจะให้มีการซักถามปัญหา หรือ
                            อภิปรายกลุ่มสรุปเรื่องราวอีกด้วย
                     ข้อจำกัด
                        1. ไม่สามารถหยุดภาพยนตร์เมื่อมีใครมีข้อสงสัย
                        2. ต้นทุนในการผลิตสูงมากและกรรมวิธีการผลิตยุ่งยาก
                        3. การผลิตฟิล์มจำนวนน้อย ๆ (ก๊อปปี้) ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นกว่าเดิมมาก
                        4. ต้องใช้ไฟฟ้าในการฉาย
                        5. ลำบากต่อการโยกย้ายอุปกรณ์สำหรับฉาย
                        6. จำเป็นต้องฉายที่มืดจึงจะมองเห็น (นอกจากจะใช้จอฉายกลางวัน)
                        7. บางครั้งถ้าใช้ภาพยนตร์ต่างประเทศอาจจะไม่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้จริง ๆ
                   2.2.2 โทรทัศน์วงจรเปิด (Open Circuit Television)
                    ข้อดี
                        1. สามารถใช้กับทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และถ่ายทอดได้ในระยะไกล ๆ
                        2. ช่วยในการดึงดูดความสนใจ
                        3. เหมาะสำหรับใช้ในการจูงใจ สร้างทัศนคติและเสนอปัญหา (ให้ผู้ชมคิดหรือเสริมสร้าง
                            การอภิปรายร่วม)
                        4. ช่วยลดภาวะของผู้ใช้ คือ แทนที่จะบรรยายหลายแห่งต่อคน ที่ต่าง ๆ เห็นได้ในเวลา
                            เดียวกัน
                    ข้อจำกัด
                        1. ต้นทุนการจัดรายการสูงและต้องใช้ช่างผู้ชำนาญในการทำรายการ
                        2. เครื่องรับโทรทัศน์มีราคาสูงและบำรุงรักษายาก
                        3. ต้องใช้ไฟฟ้า
                        4. ผู้ชมต้องปรับตัวเข้ารายการผู้ใช้หรือผู้บรรยายไม่สามารถปรับตัวเข้ากับผู้ชมได้
                   2.2.3 โทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television) 
                    ข้อดี
                        1. สามารถใช้ได้ในกลุ่มย่อยและกลุ่มคนที่มีไม่มากจนเกินไป
                        2. สามารถฉายซ้ำเมื่อผู้ชมเกิดความไม่เข้าใจ
                        3. แสดงการเคลื่อนไหว
                        4. สามารถใช้ได้ในกรณีที่มีบริเวณหรือเวลาจำกัด
                        5. เหมาะสำหรับใช้ในการจูงใจสร้างทัศนคติและเสนอปัญหา
                        6. เหมาะสำหรับใช้ในการขยายภาพ / บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นขั้นตอนแต่ใช้เวลามากในการพัฒนา
                   
ข้อจำกัด
                        1. ต้นทุน อุปกรณ์และการผลิตสูงและต้องใช้ผู้ชำนาญในการผลิต / จัดรายการ
                        2. ต้องใช้ไฟฟ้า (แม้ว่าจะสามารถใช้แบตเตอรี่ได้ ก็อาจจะต้องชาร์ตไฟ)
                        3. เครื่องรับมีราคาสูง และยากแก่การบำรุงรักษา


สื่อการสอนนับเป็นสิ่งที่มีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนโดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำคัญในการถ่ายทอดประสบการณ์  สาระ  เนื้อหา  จากผู้สอนไปยังผู้เรียน  และแนวโน้มการใช้สื่อการสอนเพื่อการศึกษาก็มีเพิ่มมากขึ้น  เพื่อให้การการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้สอนควรเลือกและใช้สื่อที่มีคุณภาพเหมาะสมตอบสนองกับผู้เรียนโดยคำนึงว่า  “ใช้สื่ออะไรอะไรดีที่สุด  หรือเหมาะสมที่สุดเท่าที่จะทำได้ให้แก่ผู้เรียนแต่ละคน  เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน”  ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่ดุลพินิจของครูผู้สอนด้วยเพื่อทำให้การเรียนการสอนแต่ละครั้งมีประสิทธิภาพมากที่สุด
            









1 ความคิดเห็น:

  1. What's the difference between casino games and poker? - Dr. MD
    If you want to play real money casino 경기도 출장마사지 games, you have to 의정부 출장샵 understand the rules and the types of games that you 당진 출장안마 can 경상북도 출장샵 play. We provide 거제 출장마사지 detailed

    ตอบลบ